เงินเฟ้อ

เงินเฟ้อเดือน เม.ย. 67 เพิ่มขึ้น 0.19% พลิกบวกครั้งแรกในรอบ 7 เดือน

เงินเฟ้อเดือน เม.ย. 67 เพิ่มขึ้น 0.19% พลิกบวกครั้งแรกในรอบ 7 เดือน

พลังงาน อาหารสด ดันเงินเฟ้อเดือน เม.ย. 67 เพิ่มขึ้น 0.19% พลิกบวกครั้งแรกในรอบ 7 เดือน คาดเงินเฟ้อทั้งปี 67 อยู่ระหว่าง 0-1% ค่ากลาง 0.50%

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย.67 อยู่ที่ระดับ 108.16 หรือเพิ่มขึ้น 0.19% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งพลิกกลับมาเป็นบวกครั้งแรก หลังจากที่ติดลบต่อเนื่องมา 6 เดือน เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

ตามสถานการณ์พลังงานในตลาดโลก ประกอบกับสิ้นสุดมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลในประเทศปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ สินค้าอาหารสด เช่น ผัก ผลไม้ ยังมีราคาสูงขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เฉลี่ย 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.) ยังติดลบ 0.55%

ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ในเดือนเม.ย.67 อยู่ที่ระดับ 104.66 เพิ่มขึ้น 0.37% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ Core CPI เฉลี่ย 4 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้น 0.42% พร้อมกันนี้ สนค.ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อในช่วง 8 เดือนที่เหลือของปีนี้ จะมีแนวโน้มเป็นบวกได้ โดยทั้งปี 67 ยังคงคาดการณ์ไว้ในระดับเดิมที่ 0-1% หรือค่ากลางที่ 0.50%

พาณิชย์เผยเงินเดือน กันยายน 65 ชะลอตัว 6.41%

เงินเฟ้อ

มีการรายงานจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือน ก.ย.65 อยู่ที่ 107.70 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.41% และเพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. 0.22% ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เฉลี่ย 9 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ย. 65) อยู่ที่ 6.17%

ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือนก.ย.65 อยู่ที่ 103.73 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.12% และเพิ่มขึ้นจากเดือนส.ค. 0.14% ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เฉลี่ย 9 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 2.26%

ค่าเงินบาทอ่อนค่า 37 บาทต่อดอลลาร์ ปัจจัยภายนอกกดดันต่อเนื่อง!

ค่าเงินบาท

นางอลิศรา มหาสันทนะ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน แบงก์ชาติ เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากขึ้นโดยเฉพาะช่วงที่เงินบาทอ่อนค่าผ่านระดับ 37.00 บาท ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยต่างประเทศทั้งจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าเดิม หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ

ยังอยู่ในระดับสูง และ risk sentiment ของค่าเงินในกลุ่ม EM Asia ที่ปรับแย่ลงหลังค่าเงินหยวนปรับอ่อนค่าขึ้นเหนือระดับ 7 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ. รวมถึงยังมีปัจจัยเฉพาะของไทยจากราคาทองคำที่ปรับลดลง ส่งผลให้มีแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากกลุ่มบริษัททองคำเพิ่มขึ้น แบงก์ชาติได้ติดตามการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด

และพร้อมเข้าดูแลเมื่อเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากผิดปกติเพื่อไม่ให้กระทบต่อการปรับตัวของภาคเศรษฐกิจจริง ทั้งนี้ ภาคเอกชนควรบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินในสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง เราต้องมารอดูกันว่าสถานการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร