หนี้

วิธีคำนวณหนี้ กยศ. แบบใหม่ ช่วยลดหนี้เร็วขึ้น

วิธีคำนวณหนี้ กยศ. แบบใหม่ ช่วยลดหนี้เร็วขึ้น

เปิดวิธีคำนวณหนี้ กยศ. แบบใหม่ล่าสุด ตัดเงินต้นก่อนดอกเบี้ยปรับ ส่งผลดีต่อผู้กู้ และช่วยลดภาระผู้ค้ำ

เว็บไซต์สำนักข่าวไทย รายงานว่า นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กล่าวว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีเตรียมประกาศแก้ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนในสิ้นเดือน พ.ย.นี้ ยอมรับว่า หลังจากปัญหาโควิด-19 ทุกคนประสบปัญหา จึงมียอดกู้เงิน กยศ. สูงสุดในรอบ 20 ปี มียอดปล่อยกู้ 46,000 ล้านบาท จากผู้กู้เงินหรือนักเรียนทุนรัฐบาล 7 แสนคน ในปี 2567 คาดว่ายอดกู้เงินประมาณ 45,000 ล้านบาท อยากย้ำว่าทุกคนได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียม กยศ. จึงขอเป็นหลักประกันให้กับทุกครอบครัว เพื่อให้เข้าถึงการศึกษา

ในการหารือแก้หนี้ กยศ. ตาม พ.ร.บ.กยศ. ฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 20 มี.ค.66 โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำกว่าเดิม และให้คำนวณภาระหนี้ใหม่ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

  1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกิน 1% ต่อปี (จากเดิม 1% ต่อปี)
  2. กรณีผิดนัดชำระ ลดอัตราเบี้ยปรับเหลือไม่เกิน 0.5% ต่อปี (จากแต่เดิม 7.5% ต่อปี)
  3. ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกันในทุกกรณี
  4. เพิ่มให้มีการกู้เรียนในหลักสูตรระยะสั้น และให้ทุนการศึกษา
  5. ปรับลำดับการตัดชำระหนี้ใหม่ โดยหักต้นเงินเฉพาะส่วนที่ครบกำหนดก่อน ตามมาด้วยดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด และเงินเพิ่มตามลำดับ
  6. เพิ่มจำนวนงวดชำระเป็นรายเดือน รายไตรมาส และรายปี (จากแต่เดิมมีเฉพาะงวดชำระรายปี)
  7. ช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างดำเนินคดี หรืออยู่ระหว่างการบังคับคดี ให้สามารถผ่อนผันการชำระเงินคืน ปรับโครงสร้างหนี้ หรือแปลงหนี้ใหม่ ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกองทุนฯ กำหนด

วิธีคำนวณหนี้ กยศ. รูปแบบใหม่ ที่จะทำให้หนี้ลดเร็ว

  1. หักเงินต้นก่อน
  2. หักดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่
  3. หักดอกเบี้ยผิดนัดชำระ

ขณะนี้ ลูกหนี้ กยศ.ทั่วประเทศมีประมาณ 6.7 ล้านคน มูลหนี้ประมาณ 743,981 ล้านบาท หากบังคับใช้กฎหมายใหม่ ตาม พ.ร.บ.กยศ. จะช่วยลดภาระหนี้

เมื่อคำนวณหนี้สินแบบใหม่ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ เมื่อตัดเงินต้นที่ครบกำหนด แล้วค่อยตัดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ จะทำให้ลดภาระหนี้ได้มากขึ้น สิ่งเป็นประโยชน์มากที่สุด คือ ย้อนหลังไปถึงวันแรกของการกู้เงิน ด้วยการนับถอยหลังให้หมดทุกคน ด้วยการคำนวณหนี้ใหม่ทั้งระบบ

คลินิกแก้หนี้ปรับเกณฑ์รองรับรายใหม่ รายละเอียดดังนี้

คลินิกแก้หนี้ปรับเกณฑ์รองรับรายใหม่ รายละเอียดดังนี้

น.ส.สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการคลินิกแก้หนี้ ได้มีมติปรับเกณฑ์คุณสมบัติการสมัครเข้าร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้ โดยขยายให้ครอบคลุมลูกหนี้ที่มีสถานะเป็นหนี้เสีย จากเดิมก่อนวันที่ 1 กันยายน 2565

เป็นก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อรองรับหนี้เสียรายใหม่ให้สามารถเข้าร่วมโครงการได้ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป คณะกรรมการฯ ยังอยู่ระหว่างกำหนดแนวทางปรับปรุงเพิ่มเติม เพื่อให้โครงการสามารถช่วยแก้ปัญหาหนี้เสียจากบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ได้ครอบคลุมและทันเวลายิ่งขึ้น

น.ส.สิริธิดา ระบุว่า แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจจะทยอยฟื้นตัวดีขึ้น แต่จากสถานการณ์ที่ยังมีความผันผวน พบว่าปัญหาหนี้ส่วนใหญ่ยังคงมีอยู่ และกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งสอดคล้องกับคำขอปรับโครงสร้างหนี้ส่วนใหญ่ ภายใต้มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน ที่ ธปท. ได้จัดร่วมกับกระทรวงการคลัง ในช่วงที่ผ่านมา