นายกรัฐมนตรี

ดีเดย์ 15 พ.ค. นี้! อสม. รับเงินรวมคนละ 8,000 บาท

ดีเดย์ 15 พ.ค. นี้! อสม. รับเงินรวมคนละ 8,000 บาท

น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุ รัฐบาลโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติตั้งงบประมาณประจำปี 2567 ให้กับกระทรวงสาธารณสุข สำหรับจ่ายเป็นค่าป่วยให้กับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 1.07 ล้านคนทั่วประเทศ โดยใช้งบประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นอัตราค่าป่วยการที่เพิ่มจากเดิมเดือนละ 1,000 บาท เป็นเดือนละ 2,000 บาท มีผลตั้งแต่เริ่มปีงบประมาณ 2567 เดือน ต.ค. 66 ที่ผ่านมา

ในเดือน พ.ค. นี้ ชาว อสม.จะได้รับเงินค่าป่วยการในอัตราใหม่ 2,000 บาท และตกเบิกย้อนหลังตั้งแต่เดือน ต.ค. 66 – เม.ย. 67 อีก 7,000 บาท รวม 9,000 บาท จากนั้นจะได้รับค่าป่วยการเดือนละ 2,000 บาททุกเดือน ทั้งนี้ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สบส. กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศไทม์ไลน์การเบิกจ่ายค่าป่วยการ อสม. โดยจะโอนเงินค่าป่วยการ อสม. รอบเดือน เม.ย. 67 เข้าบัญชีในวันที่ 15 พ.ค. 67 จำนวน 2,000 บาท และ เงินตกเบิกย้อนหลัง 6,000 บาท รวมรับ 8,000 บาท

“รัฐบาลให้ความสำคัญต่ออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่ถือเป็นกลไกสำคัญในการดูแลสุขภาพคนในชุมชน ช่วยขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ เป็นจิตอาสาที่เสียสละตนเองในการดูแลสุขภาพประชาชน ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉินมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิขั้นพื้นฐานได้อย่างเท่าเทียม โดยรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขพร้อมจะดูแลสวัสดิการต่างๆ ให้อย่างต่อเนื่อง” น.ส.เกณิกา กล่าว

แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้เมื่อไร ใครได้บ้าง นายกฯแถลงบ่ายวันนี้

แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้เมื่อไร ใครได้บ้าง นายกฯแถลงบ่ายวันนี้

สำหรับข้อเสนอของคณะอนุกรรมการที่จะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินดิจิทัลชุดใหญ่ ในวันนี้ 10 พ.ย. 66 ทางเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย รายงานว่า นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ในวันศุกร์ที่ 10 พ.ย. นี้ คณะอนุกรรมการจะเสนอแนวทาง และรายละเอียดต่างๆ ต่อนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณา และจะมีการแถลงให้ประชาชนทราบอย่างชัดเจน ส่วนข้อเสนอนั้นจะมีทั้งกลุ่มเป้าหมายไว้ 3 ทางเลือก ที่จะเสนอให้คณะกรรมการชุดใหญ่พิจารณา ได้แก่

เงื่อนไขการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท

  • กลุ่มผู้มีเงินเดือนมากกว่า 25,000 บาท หรือมีเงินฝากมากกว่า 100,000 บาท ถูกตัดสิทธิ์ ทำให้ผู้ได้รับสิทธิ์ประมาณ 43 ล้านคน ใช้งบประมาณ 4.3 แสนล้านบาท
  • กลุ่มรายได้มากกว่า 50,000 บาทต่อเดือน หรือมีเงินฝากมากกว่า 5 แสนบาท ถูกตัดสิทธิ์ ทำให้ผู้รับโอนเงินดิจิทัลเหลือ 49 ล้านคน ใช้งบประมาณ 4.9 แสนล้านบาท
  • กลุ่มผู้ยากไร้ ถือบัตรสวัสดิการในปัจจุบัน มีจำนวน 15-16 ล้านคน

โดยคณะกรรมการชุดใหญ่ ต้องเลือกดูว่าการโอนเงินให้แต่ละกลุ่มจะส่งผลต่อการสร้างเงินหมุนเวียน และกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด

ส่วนเรื่องการใช้ระบบบล็อกเชน รองรับการใช้จ่าย และจัดทำให้เป็นซูเปอร์แอปฯ ที่สามารถรองรับข้อมูลสวัสดิการภาครัฐครอบคลุมในทุกด้าน จะต้องเป็นระบบที่สามารถป้องกันการแฮปข้อมูล มีความปลอดภัยสูง จัดเก็บข้อมูลด้วย Big Data รัฐบาลจึงมอบหมายให้ ธนาคารกรุงไทย จัดทำระบบซูเปอร์แอปฯ เหมือนกับแอปเป๋าตัง แต่มีข้อเสนอหลายฝ่ายให้กลับไปใช้แอปเป๋าตัง ข้อสรุปทุกด้านจึงรอให้คณะกรรมการชุดใหญ่ พิจารณาข้อเสนอในวันพรุ่งนี้

ส่วนรัศมีการใช้เงินดิจิทัลจากเดิมที่กำหนดไว้ 4 กิโลเมตร ขยายให้ครอบคลุมในระดับอำเภอ เพื่อให้ประชาชนใช้จ่ายได้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น เพราะมีร้านค้าจำนวนมากกว่า มุ่งใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ร้านค้าต้องลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีนิติบุคคล ให้ได้รับสิทธิในการขึ้นเงินดิจิทัลเป็นเงินบาทในช่วงปลายทาง ส่วนร้านค้าขนาดเล็ก รับเงินดิจิทัลมาแล้วให้ซื้ออุปกรณ์ วัสดุ วัตถุดิบในการประกอบอาชีพ

สำหรับ แหล่งเงินรองรับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต มุ่งเน้นการใช้งบประมาณ คาดการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 กว่าจะผ่านความเห็นชอบจากสภา ใช้เงินได้ในช่วงต้นเดือน พ.ค. 67 หากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตขณะนี้ ต้องใช้งบประมาณ 4 แสนล้านบาท ต้องจัดทำให้เป็นงบผูกพันต่อเนื่อง เพื่อตั้งงบนำมาชดเชยคืนภายหลัง ปีละ 1 แสนล้านบาท

เงินเดือนนายก “เศรษฐา ทวีสิน” นั่งควบนายกฯ-ขุนคลัง ได้เท่าไหร่มาดูกัน!

เงินเดือนนายก "เศรษฐา ทวีสิน" นั่งควบนายกฯ-ขุนคลัง ได้เท่าไหร่มาดูกัน!

หลังจากที่ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 22 ส.ค. 66 อีกทั้ง นายเศรษฐา ทวีสิน ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบต่อไปแล้ว

โดยส่วนของ นายกเศรษฐา ทวีสิน ได้นั่งเก้าอี้ควบ 2 ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สำหรับค่าตอบแทนของนายเศรษฐา ทวีสิน นั้น จากการตรวจสอบข้อมูลสิทธิประโยชน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2556 ระบุว่า ข้าราชการการเมืองจะได้รับเงินเดือนและเงินประจำตัวแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ซึ่งจากการตรวจสอบตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินประจำตัวแหน่งข้าราชการการเมือง

เงินเดือนนายก

  • โดยตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้รับอัตราเงินเดือน 75,590 บาท อัตราเงินประจำตัวแหน่ง 50,000 บาท รวม 125,590 บาทต่อเดือน
  • ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ได้รับอัตราเงินเดือน 73,240 บาท อัตราเงินประจำตำแหน่ง 42,500 บาท รวม 115,740 บาทต่อเดือน

เมื่อรวมเงินเดือนนายก ทั้ง 2 ตำแหน่ง ดังกล่าว คือ นายกฯ และรัฐมนตรีการคลัง เท่ากับว่า นายเศรษฐา ทวีสิน อาจจะได้รับค่าเหนื่อย เป็นวงเงินรวม 241,330 บาท