นโยบายเศรษฐกิจ

แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้เมื่อไร ใครได้บ้าง นายกฯแถลงบ่ายวันนี้

แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้เมื่อไร ใครได้บ้าง นายกฯแถลงบ่ายวันนี้

สำหรับข้อเสนอของคณะอนุกรรมการที่จะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินดิจิทัลชุดใหญ่ ในวันนี้ 10 พ.ย. 66 ทางเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย รายงานว่า นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ในวันศุกร์ที่ 10 พ.ย. นี้ คณะอนุกรรมการจะเสนอแนวทาง และรายละเอียดต่างๆ ต่อนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณา และจะมีการแถลงให้ประชาชนทราบอย่างชัดเจน ส่วนข้อเสนอนั้นจะมีทั้งกลุ่มเป้าหมายไว้ 3 ทางเลือก ที่จะเสนอให้คณะกรรมการชุดใหญ่พิจารณา ได้แก่

เงื่อนไขการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท

  • กลุ่มผู้มีเงินเดือนมากกว่า 25,000 บาท หรือมีเงินฝากมากกว่า 100,000 บาท ถูกตัดสิทธิ์ ทำให้ผู้ได้รับสิทธิ์ประมาณ 43 ล้านคน ใช้งบประมาณ 4.3 แสนล้านบาท
  • กลุ่มรายได้มากกว่า 50,000 บาทต่อเดือน หรือมีเงินฝากมากกว่า 5 แสนบาท ถูกตัดสิทธิ์ ทำให้ผู้รับโอนเงินดิจิทัลเหลือ 49 ล้านคน ใช้งบประมาณ 4.9 แสนล้านบาท
  • กลุ่มผู้ยากไร้ ถือบัตรสวัสดิการในปัจจุบัน มีจำนวน 15-16 ล้านคน

โดยคณะกรรมการชุดใหญ่ ต้องเลือกดูว่าการโอนเงินให้แต่ละกลุ่มจะส่งผลต่อการสร้างเงินหมุนเวียน และกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด

ส่วนเรื่องการใช้ระบบบล็อกเชน รองรับการใช้จ่าย และจัดทำให้เป็นซูเปอร์แอปฯ ที่สามารถรองรับข้อมูลสวัสดิการภาครัฐครอบคลุมในทุกด้าน จะต้องเป็นระบบที่สามารถป้องกันการแฮปข้อมูล มีความปลอดภัยสูง จัดเก็บข้อมูลด้วย Big Data รัฐบาลจึงมอบหมายให้ ธนาคารกรุงไทย จัดทำระบบซูเปอร์แอปฯ เหมือนกับแอปเป๋าตัง แต่มีข้อเสนอหลายฝ่ายให้กลับไปใช้แอปเป๋าตัง ข้อสรุปทุกด้านจึงรอให้คณะกรรมการชุดใหญ่ พิจารณาข้อเสนอในวันพรุ่งนี้

ส่วนรัศมีการใช้เงินดิจิทัลจากเดิมที่กำหนดไว้ 4 กิโลเมตร ขยายให้ครอบคลุมในระดับอำเภอ เพื่อให้ประชาชนใช้จ่ายได้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น เพราะมีร้านค้าจำนวนมากกว่า มุ่งใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ร้านค้าต้องลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีนิติบุคคล ให้ได้รับสิทธิในการขึ้นเงินดิจิทัลเป็นเงินบาทในช่วงปลายทาง ส่วนร้านค้าขนาดเล็ก รับเงินดิจิทัลมาแล้วให้ซื้ออุปกรณ์ วัสดุ วัตถุดิบในการประกอบอาชีพ

สำหรับ แหล่งเงินรองรับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต มุ่งเน้นการใช้งบประมาณ คาดการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 กว่าจะผ่านความเห็นชอบจากสภา ใช้เงินได้ในช่วงต้นเดือน พ.ค. 67 หากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตขณะนี้ ต้องใช้งบประมาณ 4 แสนล้านบาท ต้องจัดทำให้เป็นงบผูกพันต่อเนื่อง เพื่อตั้งงบนำมาชดเชยคืนภายหลัง ปีละ 1 แสนล้านบาท

เลือกตั้ง 66 เทียบนโยบายเศรษฐกิจพรรคการเมืองก่อนลงสนามชิงใจคน

เลือกตั้ง 66 เทียบนโยบายเศรษฐกิจพรรคการเมืองก่อนลงสนามชิงใจคน

ใกล้เข้าสู่การเลือกตั้ง 2566 แล้ว พรรคการเมืองแต่ละพรรค ต่างชูนโยบายเด็ดที่จะเป็นจุดขายครองใจประชาชนกันอย่างล้นหลาม ทั้งนโยบายกระตุ้น หรือฟื้นฟูเศรษฐกิจ การค้า-การลงทุน รวมถึงนโยบายประชารัฐ และการแก้ปัญหาปากท้องให้กับประชาชน ซึ่งแต่ละพรรคการเมืองมีนโยบายอะไรบ้าง ไปดูพร้อมๆ กัน

พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)

  • การประกันรายได้ จ่ายเงินส่วนต่าง ข้าว มัน ยาง ปาล์ม และข้าวโพด
  • เงินช่วยเหลือชาวนา 30,000 บาทต่อครัวเรือน
  • ฟรีนมโรงเรียน 365 วัน
  • เงินอุดหนุนประมง 100,000 บาทต่อปี
  • ธนาคารหมู่บ้าน และชุมชน 2 ล้านบาท ทั่วประเทศ
  • ออกโฉนดที่ดิน 1 ล้านแปลง ภายใน 4 ปี
  • ออกกรรมสิทธิ์ทำกินให้เกษตรกรที่อยู่ในที่ดินต่างๆ ของรัฐ

พรรคเพื่อไทย

  • ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ดัน GDP ไทยโตเฉลี่ย 5% ต่อปี
  • ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน
  • เงินเดือนปริญญาตรีเริ่มต้น 25,000 บาท
  • ทุกครอบครัว มีรายได้ ไม่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
  • เติมเงินให้ทุกคนใช้จ่ายใกล้บ้านผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล
  • ไทยเป็น Blockchain Hub และ Fintech Center ของอาเซียน
  • ยกระดับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค

พรรคพลังประชารัฐ

  • เพิ่มวงเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 700 บาทต่อเดือน
  • สวัสดิการผู้สูงอายุ 60 ปี ได้รับเงิน 3,000 บาท, อายุ 70 ปี ได้รับเงิน 4,000 บาท และอายุ 80 ปี ได้รับเงิน 5,000 บาท
  • เร่งออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทุกประเภทเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด จัดที่ดินของรัฐที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้คนไร้ที่ทำกินกว่า 2 ล้านราย

พรรครวมไทยสร้างชาติ

  • เพิ่มสิทธิบัตรสวัสดิการพลัสเป็น 1,000 บาทต่อเดือน และสิทธิเบิกฉุกเฉิน 10,000 บาทต่อคน
  • ตั้งกองทุนฉุกเฉินประชาชนวงเงิน 30,000 ล้านบาท
  • คืนเงินสะสมชราภาพ 30% ให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยไม่ต้องรอครบกำหนดอายุ
  • โครงการปลดหนี้ด้วยงาน

พรรคชาติพัฒนากล้า

  • ลดภาษีบุคคล เงินเดือน 40,000 บาทแรกไม่ต้องเสียภาษี
  • รื้อโครงสร้างพลังงาน น้ำมัน แก๊ส ไฟฟ้า ต้องถูกลง
  • ยกเลิกแบล็กลิสต์บูโร รื้อระบบสินเชื่อ
  • ทุนธุรกิจสร้างสรรค์สูงสุดรายละ 1 ล้านบาท ไม่จำกัดวุฒิและวัย

พรรคภูมิใจไทย

  • พักหนี้ 3 ปี หยุดต้นปลดดอกเบี้ยคนละไม่เกิน 1 ล้านบาท
  • เกษตรร่ำรวยด้วย Contract Farming รู้ราคาก่อนปลูกรับเงินก่อนขาย
  • ลดภาษี 2 ทาง ผู้ให้-ผู้รับ วัยทำงานต้องไม่เสียภาษีซ้ำซ้อน (ใช้ VAT เพื่อหักภาษีส่วนบุคคลสูงสุด 150,000 บาท/ปี)
  • ฟรีหลังคาโซล่าเซลล์ ลดค่าไฟฟ้าหลังคาเรือนละ 450 บาท