ธปท.

ธปท. ตอบแล้ว เงินดิจิทัล 10,000 บาท ทำได้จริงหรือเปล่า

ธปท. ตอบแล้ว เงินดิจิทัล 10,000 บาท ทำได้จริงหรือเปล่า

เงินดิจิตอล คือ สกุลเงินดิจิทัลที่ถูกออกโดยธนาคารกลางของประเทศไทย (ธปท.) และมีชื่อทางการว่า Central Bank Digital Currency (CBDC) หรือ Digital Currency Electronic Payment (DCEP) เงินดิจิตอลนี้ถูกสร้างด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน และใช้สำหรับการจ่ายเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital Wallet)

การแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เป็นหนึ่งในนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย ที่ใช้หาเสียงในช่วงก่อนการเลือกตั้งเมื่อปี 2566 จนกระทั่ง นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทย

โดยทันทีที่มีการประกาศโฉมหน้านายกฯ ของไทยนั้น หลายคนก็ถามหาถึงประเด็นการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท กันอย่างล้นหลาม ประเด็นที่น่าสนใจคือ เงินดิจิทัล 10,000 บาท ขัดกับกฎหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือไม่

ล่าสุด มีรายงานจาก ธปท. ระบุุุถึงเงินดิจิทัล 10,000 บาท ว่าขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดของนโยบาย คงต้องขอดูความชัดเจนก่อน โดยก่อนหน้านี้ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนหลายสำนักถึงเรื่องเงินดิจิทัล 10,000 บาท มุมมอง ธปท. ที่มีต่อแนวทางนโยบายไม่เปลี่ยนไปจากเดิม ถ้ามีนโยบายที่กระตุ้นการใช้จ่าย ต้องชี้แจง และดูรูปแบบว่าเป็นอย่างไร

เงื่อนไข รายละเอียดเงินดิจิทัล 10,000 บาท ของพรรคเพื่อไทย มีดังนี้

คุณสมบัติผู้มีสิทธิรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท

  • คนไทยทุกคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป จะได้ “กระเป๋าเงินดิจิทัล” (Digital Wallet) อย่างเท่าเทียมในฐานะคนเท่ากัน
  • กลุ่มผู้พิการ คนชรา ที่มีสวัสดิการอื่นๆก็จะได้รับเต็มจำนวนโดยไม่หัก
  • ประชาชนที่มีสิทธิ์รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ไม่ต้องดำเนินการใดๆ
  • ไม่ต้องลงทะเบียนผ่านแอปฯ รอเงินเข้าบัญชีอัตโนมัติอย่างเดียว

การใช้เงินดิจิทัล 10,000 บาท

  • ใช้จ่ายสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันได้ทุกประเภท
  • ไม่สามารถซื้ออบายมุข โดยเฉพาะยาเสพติด การพนัน สินค้าออนไลน์ รวมถึงไม่สามารถนำไปใช้หนี้ได้
  • ใช้จ่ายในรัศมี 4 กิโลเมตร เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน และท้องถิ่น ไม่ทำให้รายได้กระจุกตัวแต่ในเมือง
  • ระยะเวลาการใช้งาน 6 เดือน เป็นมาตรการเพื่อปั๊มหัวใจกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ให้เดินต่อได้

วิธีใช้เงินดิจิทัล 10,000 บาท

  • เงินดิจิทัล 10,000 บาท จะมีแอปฯ ที่ผูกกับบัตรประชาชนให้โหลด หรือใช้บัตรประชาชนคู่กับ QR Code ส่วนตัวที่จะออกให้โดยหน่วยงานรัฐ
  • หากไม่มีโทรศัพท์มือถือให้ใช้บัตรประชาชนคู่กับ QR Code ส่วนตัวโดยจะมีการผูกในระบบอยู่แล้วโดยประชาชนไม่ต้องดำเนินการใด

กระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท แลกเป็นเงินสดได้ไหม

  • แลกเป็นเงินสดได้ โดยพ่อค้าแม่ขายที่จดทะเบียนการค้า สามารถขึ้นเงินสดได้ไม่ต้องกังวล

ทำไมต้องเป็นกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท

  • ไม่มีความเสี่ยงปลอดภัยสูงสุด ปลอดภัยทุกเส้นทางธุรกรรมการเงิน
  • กระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ไม่ใช่สกุลเงินใหม่ ไม่ใช่คริปโตเคอเรนซี่ ไม่มีเก็งกำไร ไม่มีราคาตก
  • สร้างระบบการเงินใหม่ เป็นการลงทุนโครงสร้างพื้ฐานทางการเงินใหม่ให้ไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่คนทั้งประเทศเข้าถึงเทคโนโลยีบล็อกเชน
  • ศูนย์กลาง FinTech ของภูมิภาค เพราะกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีทางการเงินของภูมิภาค
  • ไม่ยกเลิกบัตรคนจน เมื่อหายจนประชาชนจะเลิกใช้ไปเอง โดยพรรคเพื่อไทยจะฟื้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับประชาชน

ธปท. จับตาเงินบาทไทยผันผวนอย่างใกล้ชิด ยังปกติดี

เงินบาทไทย

ดร.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ และ โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมา ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนท่ามกลางความไม่แน่นอนในตลาดการเงินโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยปัจจัยหลักมาจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นสำคัญ หลังตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าคาด

และอาจกดดันให้ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นในระยะข้างหน้า รวมถึงสถานการณ์การเมืองในประเทศอังกฤษ หลังการประกาศลาออกจากตำแหน่งของอดีตนายกรัฐมนตรี Liz Truss นอกจากนี้ยังมีความไม่แน่นอนจากการผ่อนคลายมาตรการ lockdown ของจีน ที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวของไทย

ด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย ยังไม่พบสัญญาณที่ผิดปกติ โดยนับตั้งแต่ต้นปี จนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2565 นักลงทุนต่างชาติยังมีฐานะเป็นซื้อสุทธิในสินทรัพย์ไทยประมาณ 1.1 แสนล้านบาท (ซื้อสุทธิในตลาดหลักทรัพย์กว่า 1.4 แสนล้านบาท และขายสุทธิในตลาดพันธบัตรพันธบัตรที่ 3 หมื่นล้านบาท)

ทั้งนี้ แบงก์ชาติได้ติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด โดยภาคเอกชนควรบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินในสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง